บริการจัดส่งทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
 
ศูนย์จำหน่าย ปลีก-ส่ง สังฆภัณฑ์

                          
             
 เดินทางไปที่ร้าน คลิก
" บัวฉัตรสังฆภัณฑ์ "
เดินทางไปที่ร้าน คลิก
"บัวฉัตร สี่กั๊กเสาชิงช้า"
 
 

 

  1. ผ้าไตรจีวร หรือ ไตรครอง
  2. เครื่องบวช
  3. เครื่องกฐิน
  4. บาตร
  5. ตาลปัตรและขาตั้งตาลปัตร
  6. ถุงย่าม
  7. สัปทน
  8. หมอนอิง อาสนะ
  9. พานแว่นฟ้า ดอกไม้คลุมไตร
  10. ต้นเทียน กรวย
  11. เครื่องสแตนเลส
  12. บริขารธุดงค์
  13. พระพุทธรูป
  14. รูปเหมือน
  15. โต๊ะหมู่บูชา
  16. โต๊ะแต่งงานและชุดรดน้ำ
  17. หิ้งพระ
  18. ตู้พระไตรปิฎก ตู้พระธรรม
  19. ตู้พัดยศ
  20. ธรรมาสน์
  21. ระฆัง กลองเพล ฆ้อง
  22. ที่บรรจุพระธาตุแบบต่างๆ
  23. เครื่องตั้งศาล
  24. เครื่องสักการะ
  25. เทียนพรรษา
  26. เครื่องสังฆทาน เครื่องไทยธรรมต่างๆ
  27. งานดินประดิษฐ์
  28. งานประดับลวดลายไทย ปิดทองแท้
    ติดเพชร
  29. งานแก้วเป่า
  30. เครื่องทองเหลือง
  31. เครื่องเบญจรงค์ เครื่องมุกลาย
  32. เครื่องมุก
  33. เครื่องคริสตัล
  34. ตู้ครอบพระแบบต่างๆ
  35. ตู้บริจาค ตู้เซียมซี
  36. บุษบก
  37. โคมเวียนเทียน
  38. กระถางธูปไฟฟ้า - เชิงเทียนไฟฟ้า
  39. บายศรีแบบต่างๆ
  40. อื่นๆ
    

สังฆภัณฑ์

 
ทอดผ้าป่า สงกรานต์
 
        ในสมัยพุทธกาล ผ้าที่พระภิกษุจะนุ่งห่มได้นั้น ต้องมาจากผ้าบังสุกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การหาผ้ามาทำจีวรจึงลำบากมาก ต้องไปเที่ยวหาเศษผ้าที่เขาตัดเศษทิ้ง หรือผ้าเก่าๆตามกองขยะ หรือผ้าห่อศพที่เขามาทิ้งไว้ที่ป่าช้ามาใช้ทำจีวร
 
        กว่ารวบรวมหรือหาได้ครบทำจีวรสักผืนบางทีก็เกิน ๑๐ วัน ก็ทำไม่ได้อีก เพราะผิดวินัย อีกทั้งการตัดเย็บสมัยก่อนพระต้องเย็บและย้อมผ้าด้วยตนเอง (ดังนั้น ในบริขารที่ถวายพระ แม้ในปัจจุบัน เราจึงเห็นมีด้ายและเข็มอยู่ด้วย) เมื่อพุทธศาสนิกชนครั้งกระโน้น เห็นความยากลำบากของพระในเรื่องนี้ และได้พิจารณาเห็นว่าหากช่วยพระให้หมดความยากลำบากดังกล่าว น่าจะได้บุญมากทีเดียว แต่เมื่อช่วยโดยตรงคือไปถวายตรงๆไม่ได้เพราะผิดวินัย ก็เลยสังเกตดูว่าพระท่านเดินไปทางไหนเป็นปกติ ก็เอาผ้าไปหมกดิน หมกฝุ่น หรือหมกขยะหรือในป่าช้าให้ชายโผล่ออกมาให้ท่านสังเกตเห็น แต่ต้องทำเหมือนว่าเจ้าของทิ้งหรือไม่มีเจ้าของแล้ว เมื่อพระท่านเห็นและเข้าใจเช่นนั้น ท่านก็จะชักบังสุกุล นำไปใช้ตัดจีวรต่อไป ซึ่งกิริยาที่ต้องเอาผ้าไปทิ้งไว้ที่กองขยะหรือในป่าช้าเช่นนี้ เราจึงเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” ครั้นต่อมาหมอชีวกได้ทูลขอพระพุทธานุญาตให้ภิกษุรับคหบดีจีวรได้ ก็ทรงอนุญาต ตั้งแต่นั้นมา คนใจบุญทั้งหลายก็สามารถวายจีวรแก่พระสงฆ์ได้โดยตรง อย่างไรก็ดี พระพุทธองค์ก็ยังทรงสรรเสริญภิกษุที่ทรงผ้าบังสุกุล และยังมีพระภิกษุที่ประสงค์จะทรงผ้าบังสุกุลอยู่ การทอดผ้าป่าจึงมีอยู่และได้สืบทอดเป็นประเพณีมาจนปัจจุบัน โดยหลักใหญ่การทอดผ้าป่า ต้องมีผ้าขาวทั้งผืน เพื่อทำจีวร หรือจะเป็นผ้าจีวรสำเร็จรูปตัวเดียวหรือหลายตัว ไตรเดียวหรือหลายไตรก็ได้ นอกจากนี้ ก็ยังมีบริวารผ้าป่า เช่น ผลไม้ต่างๆ อาหาร ยารักษาโรค ฯลฯ สมัยก่อนถ้าทอดในป่า ก็จะนำผ้าไปพาดไว้ตามต้นไม้กิ่งไม้ ถ้าไม่มีก็หักกิ่งไม้อื่นมาปักสำหรับทอดผ้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผ้าป่า  แล้วไปวางไว้ตามทางที่พระผ่าน แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนมาโดยลำดับ ที่เราเห็นในขณะนี้ ก็มักจะเป็นถัง มีต้นไม้ปักอยู่กลางมีผ้าจีวรพาดอยู่ พร้อมมีบริขารบางอย่าง โดยเฉพาะธนบัตรปักอยู่ตามกิ่งไม้ และมักจะมีรูปชะนีเกาะอยู่ เพื่อแทนสัญลักษณ์ป่า
 
        สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา
 
        ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือการนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบ ต่าง ๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ
 
        1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้น ต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน
        2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวม ๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
        3. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามา รวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่น ๆ ฯลฯ
 
        ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาสวัดที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่าเป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดวันเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ
1. ผ้า
2. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า และ
3. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง
 
        เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฎิ หรือทั้ง 3 อย่างแล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบน้ำฝน สมุด ดินสอ ฯลฯ สำหรับเงินหรือปัจจัยนั้น นิยมเสียบไม้ปักไว้กับต้นกล้วยเล็ก ๆในกองผ้าป่านั้น
 
        ในสมัยโบราณ ไม่ต้องมีการจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงวัดแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้
 
        แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัดทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมต้อนรับ เมื่อถึงกำหนดก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวง เป็นที่ครึกครื้นสนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อย ๆ มีการละเล่นพื้นบ้านเหรือร่วมร้องรำทำเพลงร่วมรำวงกันเป็นที่สนุกสนานบางทีก่อนวันทอดก็จะจัดให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ
 
        ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกล่าวคำปริกรรมว่า "อิมัง ปังสุกูลละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ" แปลใจความได้ว่า "ผ้าบังสุกุลผืนนี้ เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกใจเป็นของข้าพเจ้า
 
        ต่อจากนั้นพระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี 
   
        อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูลละจีวะรานิ สุปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามา สาธุ โน ภันเต
        ภิกขุสังโฆ อินามิ ปังสุกูลละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
 
        คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญฯ 
        สิ่งสำคัญที่สุดในการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ที่ถวายต้องตั้งใจหรือกล่าวคำถวายอุทิศแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้ต้องการผ้าบังสุกุลอย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า
 
Copyright © 2012 Buachatrsangkapan. All Rights reserved. | Tel. 081 890 8801 , 02 222 4301 | Email : buachatr@hotmail.com, buachatr.anu@gmail.com