บริการจัดส่งทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
 
ศูนย์จำหน่าย ปลีก-ส่ง สังฆภัณฑ์

                          
             
 เดินทางไปที่ร้าน คลิก
" บัวฉัตรสังฆภัณฑ์ "
เดินทางไปที่ร้าน คลิก
"บัวฉัตร สี่กั๊กเสาชิงช้า"
 
 

 

  1. ผ้าไตรจีวร หรือ ไตรครอง
  2. เครื่องบวช
  3. เครื่องกฐิน
  4. บาตร
  5. ตาลปัตรและขาตั้งตาลปัตร
  6. ถุงย่าม
  7. สัปทน
  8. หมอนอิง อาสนะ
  9. พานแว่นฟ้า ดอกไม้คลุมไตร
  10. ต้นเทียน กรวย
  11. เครื่องสแตนเลส
  12. บริขารธุดงค์
  13. พระพุทธรูป
  14. รูปเหมือน
  15. โต๊ะหมู่บูชา
  16. โต๊ะแต่งงานและชุดรดน้ำ
  17. หิ้งพระ
  18. ตู้พระไตรปิฎก ตู้พระธรรม
  19. ตู้พัดยศ
  20. ธรรมาสน์
  21. ระฆัง กลองเพล ฆ้อง
  22. ที่บรรจุพระธาตุแบบต่างๆ
  23. เครื่องตั้งศาล
  24. เครื่องสักการะ
  25. เทียนพรรษา
  26. เครื่องสังฆทาน เครื่องไทยธรรมต่างๆ
  27. งานดินประดิษฐ์
  28. งานประดับลวดลายไทย ปิดทองแท้
    ติดเพชร
  29. งานแก้วเป่า
  30. เครื่องทองเหลือง
  31. เครื่องเบญจรงค์ เครื่องมุกลาย
  32. เครื่องมุก
  33. เครื่องคริสตัล
  34. ตู้ครอบพระแบบต่างๆ
  35. ตู้บริจาค ตู้เซียมซี
  36. บุษบก
  37. โคมเวียนเทียน
  38. กระถางธูปไฟฟ้า - เชิงเทียนไฟฟ้า
  39. บายศรีแบบต่างๆ
  40. อื่นๆ
    

สังฆภัณฑ์

 
ชนิดของกฐินในประเทศไทย
 
        ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ
 
จุลกฐิน
 
        จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
 
        ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
 
        เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
 
        สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
 
 
มหากฐิน
 
        มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่างๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้
 
 
Copyright © 2012 Buachatrsangkapan. All Rights reserved. | Tel. 081 890 8801 , 02 222 4301 | Email : buachatr@hotmail.com, buachatr.anu@gmail.com